การบริหารจัดการระบบสื่อความหมายพรรณไม้เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูล
การบริหารจัดการระบบสื่อความหมายพรรณไม้เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูล
หลักการและเหตุผล
อุทยานธรณีโลกสตูล เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีที่ได้รับการจัดตั้งให้เป็นมรดกโลกแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย โดยพื้นที่ครอบคลุมหลายอำเภอของจังหวัด และมีคววามหลากหลายของทรัพยากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งซากดึกดำบรรพ์ ทำให้การจัดการท่องเที่ยวส่วนใหญ่มุ่งเน้นนำเสนอการเที่ยวชมซากดึกดำบรรพ์ และการท่องเที่ยวทางทะเล ในขณะที่จังหวัดสตูลยังคงมีแหล่งทรัพยากรที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิ พืชพรรณและภูมิปัญญา ดังนั้นเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการท่องเที่ยวบริเวณอุทยานธรณีโลกสตูล ที่มุ่งเน้นเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การท่องเที่ยวอย่างมีความรู้และส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยว โดยชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการท่องเที่ยวด้วย โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการสื่อความหมายโดยใช้พืชพรรณไม้เด่นเป็นเครื่องมือในการเสนอเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศบริเวณอุทยานธรณีโลกสตูล และถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อสร้างนักสื่อความหมายด้านพรรณพืชในท้องถิ่นผ่านกระบวนการอบรมมักคุเทศก์พรรณไม้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน รวมถึงการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของพันธุ์ไม้เด่น 3 สายพันธุ์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการอ้างอิง การดำเนินโครงการจะเป็นการบูรณาการและสร้างความร่วมมือระหว่างนักพฤกษศาสตร์ นักวิจัย และชุมชน การคัดเลือกจุดศึกษาจะพิจารณาจากบริเวณที่มีความต้องการเร่งด่วน ในบริเวณอุทยานธรณีโลกสตูล เช่น กลุ่มอุทยานแห่งชาติ กลุ่มชุมชนที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีมากกว่า 4 จุด การดำเนินการของโครงการจะทำการรวบรวมข้อมูลพรรณไม้ทั้งจากข้อมูลทุติยภูมิ ข้อมูลจากบุคคล ภูมิปัญญาการใช้พรรณไม้ท้องถิ่น รวมไปถึงการสำรวจพรรณไม้ ระบุชนิด จัดกลุ่มตามความลำดับความสำคัญทั้งใช้เชิงการใช้ประโยชน์และเชิงอนุรักษ์ ทางโครงการจะดำเนินการประเมินศักยภาพทางการท่องเที่ยวของจุดศึกษานั้นๆ หากเป็นบริเวณอุทยานแห่งชาติจะประเมินบริเวณที่ได้จัดทำเป็นเส้นทางศึกษาทางธรรมชาติแล้ว หากเป็นแหล่งชุมชนใกล้เคียงอุทยานธรณีจะประเมินจากฐานทรัพยากรพรรณไม้และภูมิปัญญาท้องถิ่น จากนั้นจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลและจัดการการสื่อความหมายให้ตอบสนองต่อพื้นที่และความต้องการของชุมชน ข้อมูลพรรณไม้ที่ได้จากการสำรวจจะถูกนำเข้าฐานข้อมูล Navanurak เพื่อการพัฒนาต่อยอด และใช้เป็นเครื่องในการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการพัฒนาจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน บริเวณอุทยานโลกสตูลในอนาคต
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสำรวจชนิดพืชพรรณและใช้เป็นตัวชี้วัดประเมินศักยภาพของเส้นทางศึกษาธรรมชาติ
2. เพื่อพัฒนาระบบสื่อความหมายพรรณไม้เด่นในการเสนอเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บริเวณอุทยานธรณีสตูล จัดลำดับความสำคัญและความอ่อนไหวของไม้หายากเพื่อการอนุรักษ์
3. เพื่อสร้างปฏิทินพันธุ์ไม้เพื่อประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์การท่องเที่ยวจังหวัดสตูล
4. เพื่อสร้างเครือข่ายนักสำรวจพรรณไม้ในชุมชนท้องถิ่น
5. เพื่อสร้างเครือข่ายนักสื่อความหมายหรือมักคุเทศก์พรรณไม้เด่นบริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติ
6. เพื่อนำข้อมูลพรรณไม้เด่นบริเวณอุทยานธรณีโลกสตูล ตลอดจนเรื่องราว และภูมิปัญญา เข้าแพลตฟอร์ม Navanurak
เป้าหมาย
1. ชุมชนตระหนักถึงศักยภาพทางการท่องเที่ยวจากข้อมูลพรรณไม้และเรื่องราว
2. เพิ่มศักยภาพทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ผ่านการนำเสนอข้อมูลพรรณไม้
3. สมาชิกในชุมชนสามารถเก็บข้อมูลพรรณไม้เบื้องต้นได้
4. เกิดการกระตุ้นการอนุรักษ์พันธุ์ไม้เมืองสตูล จากการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้วยการจัดการสื่อความหมาย
5. คนในท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเป็นผู้สื่อความหมายพรรณพืชในท้องถิ่นหรือเป็นผลพลอยได้ที่มาจากการท่องเที่ยว
6. เพิ่มโอกาสในการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุ์พืชหายากหรือใกล้สูญพันธุ์ในท้องถิ่น
ข้อมูล
No. | Code | การใช้ประโยชน์ | |||||
ด้านการเกษตรกรรม | ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม | ด้านการแพทย์แผนไทย | ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ด้านโภชนาการ | ด้านอื่นๆ | ||
1 | LK-001 | ในตำรายาไทย ใช้รากอากศ ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ | |||||
2 | LK-003 | ปลูกเพื่อป้องกันชายฝั่ง | ใช้ฟอกหนัง นำมาเผาเป็นถ่านหุงต้มได้ | ||||
3 | LK-004 | ลำต้นนำไปทำเสาเข็มบริเวณน้ำท่วมถึง | น้ำจากเปลือกนำไปล้างแผลและห้ามเลือด แก้ท้องร่วง แก้บิด | ||||
4 | LK-006 | ใช้ย้อมผ้า ย้อมสีอวน | เป็นยาอหิวตกโรค | ||||
5 | LK-007 | รากผสมน้ำขิงใช้พอกแก้บวม แกนนำไปเผาไฟเป็นส่วนผสมยาขับลม | ยางมีพิษ ใบแห้งบดให้ละเอียดใช้วางยาปลา | ||||
6 | LK-008 | ปลูกเพื่อช่วยการพังทลาย | ของดิน ปลูกเพื่อตรึงไนโตรเจนในดิน | เป็นไม้ประดับตกแต่ง สามารถเพาะพันธ์ขายได้ | |||
7 | LK-009 | ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ | |||||
8 | LK-012 | รากต้มกินเป็นยาบำรุงขับปัสสาวะ ใบบดผสมน้ำทานแก้ต่อมทอลซิลอักเสบ | |||||
9 | LK-014 | แก้อาเจียน ลดไข้ ปวดศรีษะ แก้เบาหวาน | |||||
10 | LK-015 | เป็นไม้เนื้อดีนิยมใช้กันมีการขยายพันธุ์เพื่อเป็นพืขเศรษกิจ | เป็นไม้เนื้อดีใช้ในงานช่างไม้ต่าง | แก่น ผสมยาบำรุงโลหิต เปลือก ต้นน้ำล้างแผลและสมานแผล | |||
11 | LK-017 | รากต้มกินเป็นยาบำรุงขับปัสสาวะ ใบบดกรองน้ำทานแก้ต่อมทอมซิลอักเสบ | |||||
12 | LK-019 | ใช้ทุกส่วนต้มรวมกันเป็นยาหม้อ ดอกและผลกินสดแก้ตามในปาก ใบตำมารักษาฝี เกลื้อน | |||||
13 | LK-020 | ขยายพันธุ์เพื่อการค้า | ใช้ในงานก่อสร้าง | ผลใช้ทำขนม | |||
14 | LK-021 | นำมาทำอาหารหลายอย่างเช่น ต้มกะทิ แกงส้ม | |||||
15 | LK-022 | ใบตำพอกแก้เคล็ดขัดยอก ฟกบวม | ยอดอ่อน นำมาลวกกินเป็นผักกินกับน้ำพริก | ||||
16 | LK-023 | เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือประมงพื้นบ้าน | |||||
17 | LK-025 | เป็นยาสมานแผลโดยใช้เปลือก ดอกใช้บำรุงสตรีหลังคลอด ใช้ช่วยระบบอาหาร | |||||
18 | LK-026 | ปลูกเพื่อขายดอกและใบ ประดับตกแต่งบ้าน | เป็นยานอนหลับ แก้วิตกกังวล ขับปัสสาวะ เพิ่มความตึงกล้ามเนื้อ | นำมาประกอบอาหาร แกงกับกะทิ + เนื้อสัตว์ (นิยมใส่เนื้อปลาย่าง) | |||
19 | LK-028 | ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ | เป็นไม้ที่มีอยู่ในพุทธประวัติ "โพศรีมหาโพ" | ||||
20 | LK-029 | ไม้เป็นไม้เนื้อแข็งทำเสา หมอนรางรถไฟ ทำเครื่องดนตรี ปลวกไม่ขึ้น | เปลือกใช้ทำเชือก รากใช้ย้อมสีผ้าให้สีเหลือง | แก่น นำมาบดเป็นผงสีเหลือง "ปวกหาด" ผสมกับน้ำมะนาวกินก่อนอาหารแก้ปวดหลัง เมื่อดื่มเข้าไปแล้ว 2 ชม. ให้กินดีเกลือเพื่อถ่ายพยาธิ แก้ท้องผูก, ท้องอืด , ท้องเฟ้อ | สารสกัด- ลดอาการผมร่วง กระตุ้นการหงอกของเส้นผม แก้โรคเริม รักษาโรคผิวหนัง ลดความคล้ำของเม็ดสี | ||
21 | LK-031 | เนื้อไม้ใช้ในงานก่อสร้าง | แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ | ใบมีรสเปรี้ยว นำมาประกอบอาหารได้ | |||
22 | LK-032 | ปลูกเป็นแนวกันคลื่น อนุบาลสัตว์น้ำ | ไม้ใช้ในงานก่อสร้าง ทำเสา ทำไม้พื้น | น้ำจากเปลือกใช้ล้างแผล หรือนำมาดื่มแก้ท้องร่วง | |||
23 | LK-033 | แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้รำมานาด ปากอักเสบ รักษาเหงือก | มีสารแทนนินใช้ปรุงยา | ||||
24 | LK-034 | ราก เปลือกใบ มีสารพิษทำอันตรายต่อหัวใจ | |||||
25 | LK-035 | ปลูกเพื่อขายผล | เป็นผลไม้พื้นเมืองของภาคใต้ นิยมนำมาทำให้เป็นขนมข้าวเหนียวทุเรียน | ||||
26 | LK-036 | ปลูกเพื่อขายเป็นผลไม้ | กินเป็นยาเพื่อช่วยย่อยอาหาร แกโรคลำไส้ มีวิตามินซีสูง | ||||
27 | LK-037 | ปลูกเพื่อขายผลมะมุด | ยางของมะมุดใช้เป็นสีสัก (คาบสมุทรมลายู) | ใบใช้เป็นยาลดไข้ เมล็ดใช้เป็นยาฆ่าเชื้อราบางชนิด | ผลมะมุดนำมาปรุงรสอาหารได้ แกงส้ม แกงเหลือง ยำ ทำน้ำพริก | ||
28 | LK-038 | เป็นผลไม้กินผลสุก ขายในท้องตลาด | ผลไม่สุกช่วยให้ชุ่มคอ ขับและละลายเสมหะ เปลือกต้นแก้โรคผิวหนัง | ||||
29 | LK-040 | ปลูกเพื่อขายใบเล็บครุฑ | ใบพอกแผลแก้อักเสบ พอกแก้โรคผิวหนัง ทำน้ำมันหอย ลำต้นต้มต้มดับพิษร้อน | สามารถทำอาหารได้ ใบเล็บครุฑชุปแป้งทอด | |||
30 | MA-001 | มีการปลูกเพื่อเก็บใบ ดอก ผล ขายเป็นผักในท้องตลาด | เป็นยาบำรุงร่างกาย ใช้รักษาหลายโรค เช่น แก้ฟกช้ำ ช้ำใน แก้การนอนไม่หลับ | ดอก ใบ ฝัก สามารถกินสด และนำมาแกงได้หลายอย่าง แกงส้ม ต้มกะทิ ผัดน้ำมันหอย | |||
31 | MA-002 | เป็นพืชเศรฐกิจท้องถิ่นภาคใต้ ขายใบ ปลูกช่วยอนุรักษ์ดิน | ยางดอกทาลอกฝ้า ทุกส่วนของผักเหลียงช่วยบำรุงร่ายกาย | มีวิตามินสูง บำรุงสายา | |||
32 | MA-003 | ปลูกเพื่อขายในตามท้องตลาดมีราคาสูง | เป็นแก้อาการขาดน้ำ บำรุงสายตา ต้านมะเร็ง | สามารถนำมาประกอบอาหารได้มีรสชาติอร่อย | |||
33 | MA-004 | ปลูกขยายพันธ์เพื่อขยายต้นเป็นผักพื้นบ้าน | เป็นยาบำรุงร่างกาย ใช้เป็นส่วนผสมยาธาตุขับลมในลำไส้ ถอนพิษไข้ | เป็นเครื่องปรุงอาหารให้รสเผ็ด มีกลิ่นหอม ดับกลิ่นคาวได้ | |||
34 | MA-005 | ปลูกเพื่อขายในท้องตลาด เป็นที่นิยมภาคใต้ | ใบนำต้มกินน้ำ ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน มีใยอาหารสูงมาก ช่วยระบบขับถ่าย | ใบมีสรรพคุณทางยา เช่น บำรุงสายตา แก่โรคโลหิตจาง นำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง กินกับน้ำพริก | |||
35 | MA-007 | มีการขยายพันธ์เพื่ออนุรักษณ์ (เป็นไม้หายาก) | ใช้ในงานก่อนสร้างต่างๆ เป็นไม้เนื้อดี ลายไม้สวย | ||||
36 | MA-012 | เป็นยาสมุนไพร บำรุงร่างกาย ถ่ายพยาธิตัวกลม แก้โรคลำไส้ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ | |||||
37 | TW-003 | ขยายพันธุ์ขยายเพื่อธุรกิจ ปลูกเพื่อประดับตกแต่งบ้าน | |||||
38 | TW-004 | เพื่อขายผลอ่อน และผลอ่อนตากแห้ง เพาะขยายพันธ์เพื่อการเกษตร | เป็นเครื่องใช้ปรุงรสอาหาร สามารถกินผลสด กับน้ำพริก ใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร | ||||
39 | TW-005 | เป็นยาชูกำลัง บำรุงโลหิต เพิ่มสมรรถภาพทางเพศชาย | |||||
40 | TW-026/1 | เป็นยาบำรุงธาตุ อินเดียนำเปลือกและรากมาปรุงยาบำรุงโลหิต แก้ไอ ขับเสมหะ | ใบอ่อนนำมาประกอบอาหารได้ ใบอ่อนกินสดเป็นผักกินกับน้ำพริก นำมายำ หรือ ทำแกงส้ม | ||||
41 | TW-026/2 | เป็นยาสมุนไพรของมันนิ บำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ลดพิษไข้ | |||||
42 | TW-027 | มีความสวยงาม มีกลุ่มผู้เลี้ยงเฉพาะกลุ่ม มีราคาสูงในท้องตลาด | กระบอกดักเหยื่อนำมากินสด หรือลวกกินเป็นอาหารโดยรับประทานกับน้ำพริก กระบอกนำมาบรรจุข้าวเหนียวมูนแล้วนำไปนึ่งกินเป็นขนม | ||||
43 | TW-028 | ขยายพันธุ์เพื่อขายเป็นธุรกิจ มีกลุ่มคนที่นิยมเฉพาะกลุ่ม มีราคาสูง | กระบอกกินสดได้ กินกับน้ำพริก กินกับขนมจีน ข้าวเหนียวมูนมาใส่ ในกระบอกเอาไปนึ่งประมาณ 10 นาที จะได้ขนมหม้อข้าวหม้อแกงลิง | ||||
44 | TW-029 | ขยายพันธุ์เพื่อขายเป็นธุรกิจตามร้านต้นไม้ มีกลุ่มผู้กลุ่มเป็นกลุ่มเฉพาะ เป็นไม้ประดับ | กระบอกสามารถนำมากิน เป็นผักรับประทานกับน้ำพริก กินกับขนมจีนนำมาใส่ข้าวเหนียวมูนเป็นขนม (ข้าวเหนียวมูนหม้อข้าวหม้อแกงลิง) | ||||
45 | TW-030 | มีการขยายพันธุ์เพื่อขายเป็นธุรกิจ มีกลุ่มผู้ปลูกเฉพาะกลุ่ม | กระเปาะกินเป็นผักกินกับน้ำพริก กินกับขนมจีน นำมาใส่ข้าวเหนียวมูนทำเป็นขนม | ||||
46 | TW-031 | มีการปลูกเพื่อขยายต้น มีตลาดรับซื้อต้นคลุ้มเพื่อนำไปใช้สาน | นำมาสานเป็นงานฝีมือ มีราคาที่สูง เช่น ฝาชี หมวก กระเป๋า | ||||
47 | TW-032 | มีการขยายพันธุ์เพื่อจำหน่าย เป็นไม้ประดับที่สวยงามและเป็นที่นิยม | |||||
48 | TW-035 | ปลูกเป็นไม้ประดับตกแต่งบ้าน | |||||
49 | TW-036 | รากต้มกินเป็นยาชูกำลัง แก้กระษัย | เป็นส่วนผสมในยาชูกำลัง เครื่องดื่มชูกำลัง | ||||
50 | TW-037 | มีการขยายพันธุ์เพื่อขายเป็นไม้ประดับมีราคาแพง มีดอกสวยงาม | |||||
51 | TW-038 | หัวสดกินเป็นยาบำรุงกำลัง | ผลสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง |